ข้อแนะนำการใช้เครื่องรับ - ส่ง วิทยุคมนาคมแบบมือถือ
- เครื่องมือถือโดยทั่วไปสามารถปรับกำลังส่งได้สูงต่ำ(HI-LO) ได้ ระยะติดต่อใกล้ ๆ ควรส่ง ด้วยกำลังส่งต่ำ ซึ่งมีผลดีคือ ประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่ ถนอมภาค PA ของเครื่องไม่ให้ทำงานหนักเกินไป
- หลีกเลี่ยงการทำเครื่องตกหล่นลงบนพื้นแข็งด้วยประการใด ๆ ก็ตามเพราะจะทำให้เครื่องชำรุดได้โดยง่าย ควรมีซองหนังใส่เพื่อลดความกระทบกระเทือนเมื่อเครื่องตกหล่นลดรอยแตกร้าว รอยขีดข่วนได้
- ไม่ควรเก็บเครื่องไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงๆ เช่น รถยนต์ที่จอดในที่แจ้งในหน้าร้อนอาจทำให้เครื่องเสื่อม สภาพ และชำรุดได้
- หลีกเลี่ยงการทำเครื่องตกน้ำหรือถูกน้ำฝนอาจทำให้เครื่องชำรุดยากแก่การตรวจซ่อมรวมทั้งช่อง เสียบแจ๊คต่าง ๆ ของเครื่องต้องมีอุปกรณ์ปิดกั้นละอองน้ำและฝุ่นไม่ให้เข้าเครื่อง
- สายอากาศที่ใช้กับเครื่องมือถือควรใช้สายอากาศยางและสายอากาศแบบTelescopic สายอากาศทั้งสองแบบดังกล่าว ถ้าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรใช้อีกต่อไป
- ห้ามจ่ายแรงดันไฟฟ้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ในคู่มือ และห้ามจ่ายแรงดันไฟฟ้ากลับขั้ว
- ให้ปิดเครื่อง (OFF SWITH) ทุกครั้งก่อนที่จะทำการถอดหรือใส่แบตเตอรี่
- ขณะที่ทำการส่งข่าวสาร ควรพูดห่างจากไมโครโฟนประมาณ 1-2 นิ้ว
- ไม่ควรให้ผู้อื่นมาใช้เครื่องของท่าน(ขอยืม)เพราะอาจมีปัญหาในทางกฎหมาย
- ระวังการสูญหายเนื่องจากการโจรกรรมพวกมิจฉาชีพ โดยเฉพาะเครื่องของทางราชการหรือ เครื่องส่วนตัวก็ตาม ถ้าหายต้องรีบแจ้งความทันที
- การส่งข่าวสารต้องชัดเจน ใช้เวลาน้อย เพื่อถนอมเครื่องและแบตเตอรี่
- หลีกเลี่ยงจากไอน้ำเค็ม
- คู่มือการใช้งานของเครื่องต้องเก็บรักษาไว้เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการใช้เครื่อง
- ไม่ควรปรับแต่งวงจรใดๆ ภายในเครื่อง ถ้าท่านมิใช่ช่างวิทยุโดยตรง
- ขั้วต่อสายอากาศของเครื่องมือถือ ถ้าเกิดการหลวมโยกขยับไปมาได้ต้องรีบแก้ไข
|
หมายเหตุ หน่วยงานที่ใช้วิทยุสื่อสาร อาจกำหนดรหัสต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับงาน ของตนเองได้ การสื่อสารทางวิทยุควรเป็นภาษาที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย ใช้โค้ดเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ข้อความเยิ่นเย้อไม่รบกวนข่ายสื่อสาร ไม่ร้องเพลง ไม่พูดหยาบคายแม้กับผู้ที่สนิทสนม
Call Now